วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงสุนัขเพื่อเสริมฮวงจุ้ย



ปัจจุบันตรงกับปี 2548 ปีระกา หรือเป็นยุค 8 ตามหลักฮวงจุ้ยดาว 9 ยุค ถ้าพิจารณาจากโป๊ยข่วย หรือ ยันต์ 8 ทิศ บนจานหล่อแก หรือ เข็มทิศทางฮวงจุ้ย จะพบว่า เลข 8 ตรงกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่ 22.5 ํ - 67.5 ํ และสัญญลักษณ์ทางฮวงจุ้ยที่ใช้แทนทิศทางนี้คือ สุนัข ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักประจำยุค 8 นี้นั่นเอง
เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า สมัยนี้เกือบทุกอาคารบ้านเรือนหันมาสนใจในการเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อนเล่นในบ้านกันมากขึ้น ผิดจากสมัยก่อนที่มนุษย์มักจะเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้านเท่านั้น ความนิยมในการเลี้ยงสุนัขจะเห็นได้จากจำนวนคลีนิคสัตวแพทย์ และสถานรับเลี้ยงสุนัข หรือโรงแรมสุนัขชั้นดีผุดขึ้นอย่างกับดอกเห็ด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ในยุค 8 (พ.ศ. 2547 - 2566) นี้ สัตว์เลี้ยงยอดนิยมจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นอกจาก เจ้าตูบผู้แสนน่ารัก ของท่าน
บทบาทของสุนัขในทางฮวงจุ้ย
ในหลักการทางฮวงจุ้ย คือว่า " สุนัข " คือ บุตร บริวาร หรือ ความซื่อสัตย์ของเรานั่นเอง แม้ว่าสุนัขจะเป็นสัตว์ 1 ใน 12 นักสัตว์ก็ตาม ในช่วงปัจจุบันนี้ซึ่งเพิ่งเข้าสู่ยุคที่ 8 เป็นปีที่ 2 สามารถกล่าวได้ว่า สุนัขย่อมเป็นสัตว์ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อมวลมนุษย์อีกเป็นเวลาถึง 19 ปี (เนื่องจาก 1 ยุคมี 20 ปี) และสามารถท้าพนันได้เลยว่า ถ้านับสถิติกันจริงๆ ปัจจุบันสุนัขจะมีจำนวนมากที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงประเภทอื่น
หลักการเลี้ยงสุนัขเพื่อเสริมฮวงจุ้ย
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ถ้าท่านจะนำสุนัขมาเลี้ยงในบ้านสัก 1 ตัว เพียงแต่ท่านทราบ วัน เดือน ปีเกิด ของสุนัข และสามารถหาสุนัขที่มีธาตุที่สัมพันธ์และให้คุณกับท่านได้ สุนัขตัวเล็กๆเพียงตัวเดียวก็อาจจะช่วยให้เจ้าของเกิดความสุข และช่วยเสริมบารมีของเจ้าของในเรื่องต่างๆได้ เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน เงินทอง โชคลาภ เป็นต้น
นอกจากนี้การกำหนดทิศทางและตำแหน่งในการวางกรงของสุนัขจะช่วยเสริมบารมีให้เจ้าของในเรื่องต่างๆกัน เช่น ถ้าท่านวางกรงสุนัขทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลให้สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนยาว บุตรหลานเชื่อฟังพ่อแม่ และอยู่ในโอวาท บริวารจงรักภักดี เป็นต้น แต่ถ้าท่านวางกรงสุนัขไปทางทิศใต้ จะเปรียบเสมือนเป็นลูกสาวคนเล็ก มีความซื่อสัตย์ ขี้อ้อน และรักเจ้าของ เป็นต้น
สุนัขกับธาตุทั้ง 5
สุนัข ก็คล้ายมนุษย์ตรงที่มีการวิเคราะห์ ธาตุทั้ง 5 ในแต่ละตัว ถ้าสุนัขที่ท่านเลี้ยงมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ก็ช่วยส่งผลดีต่อเจ้าของไปด้วย และถ้าสุนัขที่ท่านเลี้ยงเป็นโรคประจำตัวต่างๆ ก็แสดงว่าสุนัขของท่านขาดธาตุใดธาตุหนึ่งใน 5 ธาตุ ดังนี้
ลำดับที่
โรคที่เกิดกับสุนัข
ขาดธาตุสำคัญ
แก้ไขโดยการวางกรงหรือจัดที่อยู่ให้ใหม่ตามทิศทางที่ถูกต้อง
1.
โรคตับหรือโรคปอด
ธาตุไม้
ทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
2.
ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคลำไส้ โรคกระเพาะ
ธาตุดิน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
3.
โรคกระดูก
ธาตุทอง
ทิศตะวันตก
4.
โรคเลือด
ธาตุน้ำ
ทิศเหนือ
5.
โรคหัวใจ หรือ โรคความดันโลหิต
ธาตุไฟ
ทิศใต้
อย่างไรก็ดี การหาตำแหน่งการจัดวางกรงสุนัขดังกล่าวข้างต้น หากไม่สามารถหาพื้นที่ในการวางกรงในตำแหน่งนั้นๆได้ ก็สามารถแก้เคล็ดด้วยการหาภาพถ่ายของสุนัขตัวโปรดของคุณไปวาง ณ ตำแหน่งนั้นๆ แทน ก็จะช่วยแก้ไขได้เช่นกัน
บทสรุป
ท่านเชื่อหรือยังว่า แม้แต่การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแสนรักสัก 1 ตัว ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกับทิศทางของฮวงจุ้ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากเราไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องราวดังกล่าวมากมายนัก การเลี้ยงสุนัขสักตัวก็เป็นเรื่องที่แสนจะธรรมดาเหลือเกิน แต่ในทางกลับกัน ถ้าเรารักที่จะเลี้ยงสุนัขเพื่อให้เป็นเพื่อนแท้ในครอบครัวสักตัว หรือเป็นสมาชิกที่มีความสำคัญต่อเรา เปรียบเสมือนเป็น 1 ในสมาชิกครอบครัวของเราแล้ว การเลี้ยงสุนัขให้ดีและสอดคล้องกับทิศทางฮวงจุ้ย ก็จะส่งผลกระทบในเชิงบวกให้แก่คุณและครอบครัวได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
นอกเหนือไปจากหลักการกว้างๆที่เกริ่นให้ท่านผู้อ่านที่รักทราบไปบ้างแล้ว ก็พอมีเกล็ดความรู้น่าสนใจบางประการ กล่าวคือ บางท่านบอกว่าต้องการเลี้ยงสุนัขให้เฝ้าบ้าน กันขโมย แต่สุนัขเจ้ากรรมกลับเรียบร้อยเหลือเกิน เห่าไม่เป็น เรื่องนี้แก้ไขไม่ยาก ท่านต้องนำสุนัขตัวนั้นไปเลี้ยงไว้ที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตรงองศาที่ 112.5 ํ - 122.5 ํ สุนัขตัวนั้นก็จะมีนิสัยดุขึ้นมาทันที
สุดท้ายสำหรับแฟนฮวงจุ้ยที่รัก ถ้าหากเกิดกรณีสุนัขตัวโปรดของท่านตาย หรือเสียชีวิตลง บางท่านต้องการหาที่ฝังศพไว้ภายในบ้าน และต้องการกำหนดที่ฝังเพื่อให้สุนัขตัวโปรดนอนหลับสนิทไปอย่างสงบ ก็สามารถทำได้ แต่ขออนุญาตไม่อธิบายในรายละเอียดในคอลัมน์นี้ เพราะอาจจะดู over ไปสำหรับผู้ที่ไม่ชอบสุนัข ดังนั้น หากแฟนคอลัมน์ท่านใดต้องการเคล็ดลับตรงจุดนี้ ก็ขออนุญาตให้ปรึกษาเป็นรายบุคคลก็แล้วกัน

ก่อนจะอำลากันไปในฉบับนี้ ขอฝากคำคมสำหรับแฟนๆ ประจำคอลัมน์ไว้ว่า
" ไม่สำคัญว่ามีทรัพย์มากหรือน้อย แต่ที่สำคัญคือต้องใช้ให้น้อยต่างหาก ชีวิตจึงจะมีเหลือมากกว่าขาด "
ด้วยความคารวะ
หลันฮัว

หมายเหตุ หากท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่านสามารถนำความรู้ ที่ผู้เขียนได้เผยแพร่ผ่านคอมลัมน์นี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตบ้าง ผู้เขียนก็ขอเทอดทูนคุณความดีนั้น ให้แก่ ท่านอาจารย์ตั้งกวงจือและคณาจารย์ทั้งหลายที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ผู้เขียนมาโดยตลอด

ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม




มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยท่านผู้อ่านคงจะได้ยินข่าวเพื่อนหรือญาติเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นคุณสุภาพสตรี หรือคุณสุภาพบุรุษควรมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมไว้บ้าง โรคนี้สามารถเป็นกับคุณสุภาพบุรุษได้ครับ
มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
Benign tumor
คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำ ไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease
Malignant tumor
เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
โครงสร้างของเต้านม

เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 lobe ภายใน lobe ประกอบด้วย lobules และมีถุง bulbs ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะไปเปิดยังหัวนม nipple ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง [lymph] ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้[axillary lymph node]
มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด
หากคลำเต้านมตัวเองจะรู้สึกอย่างไร
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าเต้านมจะประกอบด้วยต่อมน้ำนม 15-20 lobesดังนั้นเมื่อเราคลำก็จะได้ต่อมน้ำนม นอกจากนั้นลักษณะเต้านมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตาม อายุ ระหว่างรอบเดือน การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร การใช้ยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้ลักษณะเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง ท่านต้องคลำจนเกิดความคุ้นเคยว่าอะไรคือปกติ อะไรคือผิดปกติ
จะรูได้อย่างไรว่ามีก้อนที่เต้านม
หากท่านคลำเต้านมเป็นประจำ ท่านจะทราบได้ว่าเต้านมที่ท่านคลำได้ผิดปกติหรือไม่ เพราะหากก่อนหน้านี้ยังคลำไม่ได้แต่เพิ่งคลำก้อนได้แสดงว่ามีก้อนที่เต้านม
หากคลำได้ก้อนที่เต้านมควรปรึกษาแพทย์แผนกใด
ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านหรือแพทย์แผนกผ่าตัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมะเร็ง ซึ่งจะต้องนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (Risk Factors)
การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก
การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ทำให้การรักษาได้ผลดี คุณสุภาพสตรีมีส่วนร่วมในการค้นหาดังนี้
ตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรจะตรวจอย่างน้อยเดือนละครั้งระยะเวลาเหมาะสมที่จะตรวจคือหลังหมดประจำเดือน
ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ควรตรวจตั้งแต่อายู 20 -39 ปี ขึ้นไปโดยตรวจทุก 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีควรตรวจด้วยแพทย์ทุกปี
ตรวจเต้านมโดย Mammographyซึ่งสามารถตรวจพบก่อนเกิดก้อนได้ 2 ปี
การตรวจ mammography เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก แนะนำให้ตรวจทุก1-2 ปีสำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี สำหรับคุณผู้หญิงที่อายุน้อยกว่านี้หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์ว่าจะตรวจบ่อยแค่ไหน ผู้ที่ตรวจเต้านมด้วยตัวเองต้องคำนึงถึงเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงขนาด และความตึงตามสภาวะรอบเดือน การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน และการกินยาคุมกำเนิด แม้ว่าจะตรวจเต้านมด้วยตัวเองควรที่จะได้รับการตรวจด้วยแพทย์หรือ mammography
อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้
มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม
มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม
ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม
หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง
การวินิจฉัยก้อนที่เต้านม
การวินิจฉัยหาสาเหตุของก้อน แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับก้อน ประวัติครอบครัว ประวัติสุขภาพทั่วไปหลังจากนั้นแพทย์จะตรวจ
Palpation แพทย์จะคลำขนาดของก้อน ลักษณะของก้อนแข็งหรือนิ่ม ผิวขรุขระหรือเลียบ ขยับเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โตหรือไม่
Mammography เป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
Ultrasonography เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว
จากข้อมูลดังกล่าวแพทย์จะตัดสินใจว่าจะวางแผนการรักษา แพทย์บางท่านอาจจะทำการตรวจเพิ่มโดยการตรวจ
Aspiration ใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำออกและส่งหาเซลล์มะเร็งในกรณีที่ก้อนนั้นเป็นของเหลว
Needle biopsy การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อส่งพยาธิวิทยาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
Surgical biopsy เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออก และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
เมื่อแพทย์ตัดสินใจจะผ่าตัดชิ้นเนื้อออกคุณสุภาพสตรีควรจะถามแพทย์ดังนี้
คาดว่าผลชิ้นเนื้อเป็นอย่างไร
ผ่าตัดนานแค่ไหน ใช้ยาสลบหรือไม่ เจ็บหรือไม่
เมื่อไรจะทราบผลชิ้นเนื้อ
ถ้าผลเป็นมะเร็งจะรักษากับใครดี
หากผลชิ้นเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย
โรคที่เป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อยๆได้แก่
Fibrocystic change เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดไม่เป็นมะเร็ง ก้อนนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีถุงน้ำ มักจะมีอาการปวดบริเวณก้อนก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นตอนอายุ 30-50 ปีมักจะเป็นสองข้างของเต้านม มีหลายขนาด ตำแหน่งที่พบคือบริเวณรักแร้ ก้อนนี้ขยับไปมาได้ เมื่อวัยทองก้อนนี้จะหายไป หากเป็นโรคนี้ไม่ต้องรักษา
Fibroadenomas มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปีไม่ปวด ก้อนเคลื่อนไปมา การรักษาผ่าเอาออก
Traumatic fat necrosis เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกและมีเลือดออกในเต้านม มักเกิดในคนที่มีเต้าโต บางครั้งผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว ไขมันเกิดการอักเสบรวมกันเป็นก้อนซึ่งอาจจะปวดหรือไม่ก็ได้
ก้อนทั้งหมดจะไม่กลายเป็นมะเร็ง
จะทำอย่างไรเมื่อผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง
พยาธิแพทย์จะบอกผลชิ้นเนื้อว่ามะเร็งนั้นอยู่เฉพาะที่ยังไม่แพร่กระจาย [ non invasive ] หรือลุกลาม [ invasive] อาจมีการส่งตรวจพิเศษ โดยการทำ hormone receptor test เพื่อช่วยวางแผนการรักษา
หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งยังมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะปรึกษาแพทย์ถึงแผนการรักษา ท่านควรถามบางคำถามกับแพทย์ของท่าน
ผลชิ้นเนื้อเป็นชนิดไหน และเป็นระยะไหน
จะให้พยาธิแพทย์อ่านซ้ำจะได้หรือไม่เพราะอะไร
โอกาสที่มะเร็งจะแพร่กระจายมีมากหรือไม่
ได้ตรวจ progesterone receptor หรือไม่ผลเป็นอย่างไร
จะต้องตรวจอย่างอื่นอีกหรือไม่
จะใช้วิธีไหนรักษา
ข้อดีของการรักษาแต่ละอย่าง
ปัจจัยเสี่ยง และผลข้างเคียงของกางรักษาแต่ละอย่าง
มีการรักษาหรือทดลองใหม่ๆที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหรือไม่
วิธีการรักษา
สมัยก่อนจะทำการรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่หากเป็นมะเร็งก็ตัดเต้านมออก เพราะเชื่อว่าการรอเวลาจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาที่เหมาะสมจะทำ 2 ขั้นตอนโดยการตัดชิ้นเนือออกไปตรวจเป็นบางส่วนหากผลออกมาเป็นมะเร็งจึงค่อยนัดมาผ่าตัดเต้านมออก
การผ่าตัด
ท่านควรดูแลตัวอย่างไรบ้างหากเกิด Lymphedema
ยกของหรือกระเป๋าด้วยแขนอีกข้าง
ระวังผิวไหม้จากแดดเผา
เจาะเลือด วัดความดันโลหิต หรือให้เคมีบำบัด ที่แขนอีกข้าง
ห้ามโกนขนรักแร้ ระวังเกิดแผล
ถ้าเกิดบาดแผลให้รีบล้างและใส่ยาปฏิชีวนะแล้วรีบปรึกษาแพทย์
ให้สวมถุงมือเวลาทำสวนหรือสัมผัสสารเคมีที่ระคายเคือง
ห้ามใส่เครื่องประดับแขนข้างขั้น
ก่อนการผ่าตัดควรถามแพทย์ผู้รักษาดังต่อไปนี้
จะผ่าตัดชนิดไหน
จะเตรียมตัวผ่าตัดอย่างไร
จะตัดเต้านมบางส่วนร่วมกับรังสีรักษาได้หรือไม่
ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองด้วยหรือไม่
จะมีแผลเป็นหรือไม่ แผลน่าเกลียดหรือไม่
ถ้าจะทำศัลยกรรมตกแต่งจะทำได้หรือไม่
จะออกกำลังกายได้หรือไม่
Radiation therapy ใช้รังสีเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปให้ 5 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์ บางครั้งอาจให้รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัด
ก่อนรับการรักษาด้วยรังสีรักษาคุณควรรู้อะไรบ้าง
จำเป็นต้องให้รังสีรักษาหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของการรักษา
จะเริ่มรักษา และสิ้นสุดเมื่อไร
จะมีสภาพอย่างไรขณะรักษา
จะดูแลตัวเองอย่างไรขณะรักษา
สภาพเต้านมจะเป็นอย่างไร
โอกาสจะเป็นมะเร็งอีกครั้งมีหรือไม่
Chemotherapy เคมีบำบัด ใช้ยาฆ่ามะเร็งอาจเป็นยาฉีดหรือยากิน มักจะให้ระยะหนึ่งแล้วหยุดจุดประสงค์ของการให้คือ
เพื่อป้องกันมะเร็งกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
ลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด
เพื่อควบคุมโรคในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น
Hormone therapy ให้ฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะใช้ในรายที่ให้ผลบวกต่อ estrogen หรือ progesterone receptor
การเลือกวิธีรักษา
การเลือกการรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆดังนี้
อายุ
ภาวะประจำเดือน
สุขภาพทั่วไป
ขนาด
ตำแหน่งของก้อน
มะเร็งอยู่ในขั้นไหน
การแบ่งความรุนแรงของมะเร็งเต้านม
ผลข้างเคียงของการรักษา
การผ่าตัด
เจ็บบริเวณที่ผ่าตัด
อาจมีการติดเชื้อ หรือแผลหายช้า
การตัดเต้านมไปข้างหนึ่งอาจทำให้เสียสมดุลทำให้ปวดหลัง คอ
จะรู้สึกตึงๆหน้าอก แขนข้างที่ผ่าตัดจะมีแรงน้อยลง
มีอาการชาแขนข้างที่ผ่าตัด
บวมแขนข้างที่ผ่าตัด
รังสีรักษา
อ่อนเพลีย
ผิวหนังแห้ง แดง เจ็บ คัน
ก่อนใช้เครื่องสำอางควรปรึกษาแพทย์
เคมีบำบัด
ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
ผมร่วง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
เป็นหมัน
ฮอร์โมน
ยาจะยับยังไม่ให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนแต่ไม่ยับยังการสร้างฮอร์โมนดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ วูบวาบ ตั้งครรภ์ง่าย คันช่องคลอด น้ำหนักเพิ่ม ตกขาวควรตรวจภายในทุกปีและรายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
การฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด
การคืนสู่สภาพปกติของร่างกายหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของการผ่าตัด และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ควรทำกายภาพทันทีหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันข้อหัวไหล่ติดยึดและเพื่อเพิ่มกำลังให้กับแขน สำหรับผู้ป่วยที่แขนบวมหลังผ่าตัดแนะนำให้ยกแขนไว้บนหมอนเวลานอน
มาป้องกันมะเร็งเต้านม
ยังไม่มีวิธีแน่นอนในการป้องกันมะเร็ง คุณสามารถป้องกันมะเร็งด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นสมาคมมะเร็งของอเมริกาแนะนำวิธีป้องกันมะเร็งเต้านมดังนี้
เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน งดเกลือ
เลือกรับประทานอาหารพวก ผักและผลไม้
ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้
งดเว้นการสูบบุหรี่ และ แอลกอฮอล์
ให้เตรียมอาหารและเก็บอาหารอย่างปลอดภัย

เปิดเมนูอาหารต้านโรคมะเร็ง


ถึงแม้ว่าการรักษาพยาบาลในปัจจุบันจะมีความก้าวหน้า สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีตมากเพียงใดก็ตาม แต่คงไม่มีใครอยากจะเจ็บป่วยแล้วค่อยไปรักษาตอนหลังเป็นแน่ โดยเฉพาะป่วยเป็นมะเร็ง
ดังนั้น ถ้าจะมีวิธีใดจะป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยได้ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด จากการศึกษาวิจัยเป็นเวลานานทำให้เรารู้ว่า สาเหตุของการเจ็บป่วยส่วนใหญ่มาจากการบริโภคอาหารและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถ้าประชาชนมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม แล้วโอกาสที่จะเจ็บป่วยก็คงจะลดน้อยลงกว่านี้มาก รวมทั้งการเกิดโรคมะเร็งด้วย
เพื่อให้ห่างไกลมะเร็งและส่งเสริมสุขภาพ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ ดร.สุภัจฉรา นพจินดาสำนักงานวิจัยคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำมาบอกกล่าวเผยแพร่เป็นวิทยาทาน

1.ผัก ผักมีกากใยปริมาณมาก ซึ่งผักที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านมะเร็ง ได้แก่ ผักมีสี เช่น บีตรูต ผักโขม แครอต มะเขือเทศ ยิ่งมีสีเข้มมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงว่ามีสารที่มีประโยชน์ (phytochemical) มากขึ้นเท่านั้น

2.ปลาน้ำเย็น ได้แก่ ปลาที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวของโลก ในน้ำจะมีอุณหภูมิต่ำ เช่น ปลาแซลมอน ปลาคอท ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูและปลาจากทะเลน้ำลึก ปลาเหล่านี้จะอุดมไปด้วยไขมันที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ได้แก่ EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) ซึ่งชะลอการแพร่ของมะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่พบในน้ำทะเล แต่ไม่พบในดิน

3.ถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ในถั่วเหล่านี้พบว่ามีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสในบริมาณสูง (มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง) นอกจากนี้ ยังพบว่ามีอินโนซิทอล เฮกซาฟอสเฟต (กรดไฟตริก ซึ่งในท้องตลาดจะขายในรูปของ IP-6) และจีเนสเตอิน(ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งตีบลง) นอกจากนี้ ในถั่วยังอุดมไปด้วยกากใยที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายตามธรรมชาติ

4.เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวโอต บาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื่องจากเมื่อกากใยของพืชเหล่านี้แตกตัวที่ลำไส้จะเปลี่ยนเป็นกรดบิวไทริกที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

5.สาหร่ายทะเล ประกอบด้วยสารบางชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และยังประกอบด้วยกากใยชนิดพิเศษที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการนำไขมันอันตราย สารอนุมูลอิสระ สารพิษต่างๆ ออกจากลำไส้ นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุอย่างดีจากน้ำทะเล

6.ผลไม้ประเภทเบอร์รี่ เช่น ราสเบอรี่ สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ เบอร์รี่สีดำ ในผลไม้เบอร์รี่เหล่านี้จะมีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง และยังมีกรดอัลลาจิกที่จะทำลายเซลล์มะเร็งให้ตาย

7.โยเกิร์ต เนื่องจากในโยเกิร์ตจะมีแบคทีเรียที่เป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แลคโตเบซิลัส ที่สามารถหมักนมให้เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน และเนื่องจากกว่า 80% ของระบบภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่ทางเดินอาหาร ดังนั้น โยเกิร์ตจึงเป็นอาหารที่จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกาย ในการป้องกันการติดเชื้อและยังช่วยต้านมะเร็งอีกด้วย

8.ชาเขียว ประกอบด้วย สารคาเทชินและสารเคมีในพืชอีกหลายชนิด จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นและจีน พบว่า ชาเขียวสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งและยังสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้

หมายเหตุ การดื่มชาเขียวให้ได้รับประโยชน์เต็มที่นั้น ต้องดื่มทันทีหลังจากชงเสร็จ เนื่องจากถ้าทิ้งไว้ชาเขียวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้สูญเสียคุณค่าไป

9.เครื่องเทศต่างๆ เช่น มาสตาร์ด พริก พริกไทย กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ อบเชยและเครื่องเทศอื่นๆ ที่ใช้ปรุงแต่งรส สามารถต้านมะเร็งและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้

10.น้ำสะอาด ปริมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่บนโลกและของร่างกายนั้นประกอบด้วยน้ำ เนื่องจากน้ำนั้นเป็นสารตัวกลางสำคัญของร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่างๆ ของเซลล์ อาทิเช่น ควบคุมสมดุลกรด-ด่าง การทำความสะอาด การขจัดสิ่งสกปรก และยังนำพาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ ตลอดจนนำของเสียหรือสารพิษออกจากเซลล์อีกด้วย

หากใครสนใจเรื่องอาหารต้านมะเร็งสามารถเข้าฟังงานที่ภาควิชาพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง"อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและต้านมะเร็ง วันที่ 21 มกราคม 2552 เวลา 08.30-12.00 น. ติดต่อสอบถามประชาสัมพันธ์ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ประชาสัมพันธ์อาคาร 1โทร. 0-2201-2355 หรือ 0-2201-2520, 0-2201-1809, 0-2201-1091-3




ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์