ข้อที่ 1 : พกปากกาสี 12 สี ติดตัว ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติจึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลยแหล่ะ * สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ
ข้อที 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น การใช้สมุดnote ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุดnote ที่ไม่มีเส้นนั้นจะทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูน่ะ
ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map Or Pic. ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำการ์ตูนได้มากกว่า เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่าการบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้
ข้อที่ 4 : Mp3 เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่างหากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ
ข้อที่ 5 : เอาใจครู เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตร์ที่คุณครูชอบ เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเองเวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้นเพราะ เราอยากเรียนวิชานั้น ๆ
ข้อที่ 6 : พูดคุยกับปากกาก่อนสอบ หรือก่อนเขียนงานเราควรพูดคุยกับปากกาบ้าง คุณหนูดี กับ ด็อกเตอร์ อะไรเนี่ยแหล่ะจำชื่อไม่ได้ ก็ใช้วิธีนี้จนเรียนจบปริญญา
ข้อที่ 7 : นั่งหน้าห้อง นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลังเราและสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วเครดิต ; หนังสือของคุณหนูดี เราย่อออกมาเหลือแค่นี้แหล่ะ ส่วนหนังสือของคุณหนูดีเล่มใหม่ Speed Reading ไว้เราอ่านแล้วจะเอามาลงให้นะ
ที่มา www.dek-d.com
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น